Author Archives: radchadagon3139

ข้อควรปฏิบัติและมารยาทในการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อควรปฏิบัติและมารยาทในการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อให้การบริการของงานหอสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการโดยส่วนรวม จึงกำหนดข้อ ปฏิบัติสำหรับผู้เข้าใช้หอสมุดไว้ ดังต่อไปนี้

1. ต้องเคารพต่อสถานที่ราชการโดยแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ห้ามใส่กางเกงขาสั้น

2. ต้องสำรวมกริยา ไม่พูดคุยเสียงดัง และไม่ปฏิบัติตนเป็นที่รบกวนผู้อื่น

3. ต้องปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดก่อนเข้าหอสมุด

4. ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่มเข้าหอสมุด (ยกเว้นน้ำเปล่า)

5. ห้ามนำสัตว์ทุกชนิดเข้าหอสมุด

6. ห้ามทำความสกปรกในหอสมุด

7. ห้ามเล่นการพนันและเกมในหอสมุด

8. ห้ามฉีก กรีด หรือขีดเขียนหนังสือ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ทุกชนิดของหอสมุด

9. ไม่นำทรัพยากรหอสมุดที่ไม่ได้ยืมอย่างถูกต้องตามระเบียบออกจากหอสมุด

10. ต้องนำทรัพยากรหอสมุดที่ยืมไป ส่งคืนหอสมุดตามเวลาที่กำหนด

11. ต้องดูแล ระมัดระวังทรัพย์สินส่วนตัว หากสูญหาย หอสมุดจะไม่รับผิดชอบ

12. ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ และแจ้ง บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่หอสมุด

หากผู้เข้าใช้ห้องสมุดไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อปฏิบัติข้างต้น งานหอสมุด สำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีอำนาจลงโทษตามความเหมาะสม

มารยาทการใช้เทคโนโลยี กับ การทำงาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและสร้างประสิทธิผลในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ สปีกเกอร์โฟน วอยซ์เมล อีเมล และแฟกซ์ เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะเห็นเจ้าอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ตามสำนักงานทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คุณตะลุยใช้งานมันได้อย่างสะดวกง่ายดายเท่านั้น แต่ยังคงมีกติกาควรปฏิบัติที่คุณผู้ใช้เองควรรับรู้ไว้ เพื่อดึงความสามารถที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอย่างพอเหมาะพอดี ดังที่ How to นำมาฝากกันในบรรทัดถัดจากนี้ไป
อีเมล
อีเมล (e-mail) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากในโลกธุรกิจปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้งานอย่างไม่เหมาะสมก็จะกลายเป็นสาเหตุในการทำลายความสัมพันธ์และหน้าที่การงานของคุณได้เนื่องจากอีเมลเป็นรูปแบบการสื่อสารทางเดียวที่ผู้รับสารจะได้เห็นเพียง ข้อความที่คุณเลือกจะพิมพ์และส่งไปเท่านั้น แต่ไม่ได้ยิน สำเนียงเสียงหรือได้เห็นเจตนาที่แท้จริงของคุณ จึงอาจ ทำให้ผู้รับสารแปลความหมายของข้อความที่คุณต้องการ สื่อถึงคลาดเคลื่อนไปและเข้าใจผิดกันได้ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะกดปุ่มส่งข้อความจึงต้องตรวจทานรายละเอียดต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน อาทิ การสะกดคำ ไวยากรณ์ โดยมีเคล็ดลับสำคัญคือ ควรอ่านออกเสียงข้อความที่จะสื่อสารทางอีเมลออกมาดังๆ ก่อนส่ง เพื่อตรวจสอบโทนเสียงของข้อความว่า ห้วนเกินไป แสดงความอ่อนน้อม หรือมีความหมายอย่างไร อีกทั้งไม่ลืมที่จะใส่คำพูด เช่น กรุณา หรือ ขอบคุณ ในข้อความของคุณเพราะจะช่วยเปลี่ยนความต้องการที่คาดหวังไว้ให้กลายเป็นการร้องขอที่สุภาพได้
อีเมลเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่สั้น ธรรมดา และตรงประเด็น ข้อความใดๆ ก็ตามที่มีขนาดเกินครึ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นยาวเกินไป ซึ่งหากคุณจำเป็นต้องส่งข้อความที่ยาวมาก ควรใส่คำนำตามหัวข้ออีเมลสั้นๆ และส่งรายละเอียดทั้งหมดในรูปแบบของไฟล์เอกสารแนบ (Attached File) แทนการปะหน้า และจำไว้เสมอว่าคุณควรจะขออนุญาตผู้รับสารก่อนในการส่งไฟล์เอกสารแนบขนาดใหญ่ไปให้ อย่างไรก็ตาม หากไฟล์เอกสารมีขนาดใหญ่มาก คุณอาจจะแยกส่งอีเมลเป็น 2 หรือ 3 ครั้งก็ได้ แต่สำหรับระยะยาวการส่งอีเมลครั้งเดียวที่มีรายละเอียดครบถ้วน ย่อมสะดวกสำหรับผู้รับมากกว่าในแง่ของการส่งต่อหรือตอบกลับข้อความ

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการใช้อีเมล

  • สันนิษฐานไว้เสมอว่าข้อความของคุณมีโอกาสถูกส่งต่อไปยังบุคคลอื่นได้อีก เริ่มต้นด้วยคำทักทายที่แสดงความเคารพจนกระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้น ตอบสนองต่อทุกคำถามเวลาที่ตอบกลับอีเมล
  • อย่าใช้อีเมลส่งข้อความไร้สาระ เป็นความลับ หรืออ่อนไหวต่อความรู้สึก หากจะต้องส่งข้อความที่เป็นความรู้สึกหรือเรื่องด่วนควรใช้โทรศัพท์มากกว่า
  • ไม่ควรใช้อีเมลในการตำหนิใคร ไม่ควรใช้อีเมลแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเมืองหรือศาสนา
  • ใช้คำตลกขบขันหรือคำเย้ยหยันให้น้อยที่สุด เพราะบางครั้งผู้รับอาจจะไม่เข้าใจมุกของคุณ
  • ใช้คำย่อของคำทางอุตสาหกรรมหรือคำย่อต่างๆ ให้น้อยที่สุด
  • ตอบกลับอีเมลที่ได้รับภายใน 24 ชั่วโมง หากต้องการเวลาในการตอบกลับมากขึ้น ควรโทรศัพท์หรืออีเมล แจ้งกลับไปว่าคุณกำลังหาคำตอบอยู่และจะรีบตอบกลับไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
    โทรศัพท์และโทรศัพท์มือถือ
    กลเม็ดในการใช้โทรศัพท์สำหรับการสื่อสารในเวลางาน ได้แก่ รับโทรศัพท์ให้เร็วที่สุดและบอกชื่อ-นามสกุลของตัวเอง แนะนำตัวเองเมื่อโทรศัพท์ไป โดยบอกชื่อ-นามสกุล รวมทั้งบริษัทและจุดประสงค์ของการโทร. พูดช้าๆ และชัดๆ ฟังอย่างตั้งใจและใช้คำพูดที่แสดงความเห็นด้วย ตอบกลับข้อความภายใน 24 ชั่วโมง เมื่ออยู่ในออฟฟิศของผู้อื่นให้ขอตัวออกคุยข้างนอก ไม่โทรศัพท์หากกำลังมีแขกสำคัญในออฟฟิศของคุณนอกจากจะเป็นเรื่องด่วน ไม่ทำอย่างอื่น เช่น รับประทานอาหาร หรือพูดกับบุคคลอื่นขณะคุยโทรศัพท์ ขอโทษหากต้องมีการรอสาย และไม่ควรให้มีการรอสายนานเกิน 1 นาที และเมื่อคุณกลับมารับสายให้กล่าวคำขอโทษอีกครั้งสำหรับโทรศัพท์มือถือมักจะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีไว้ทำกิจธุระส่วนตัวมากกว่า ดังนั้นการใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่อยู่ในที่ทำงาน จึงควรใช้เฉพาะเมื่อมีเรื่องฉุกเฉินหรือ จำเป็น และควรจะหาที่ส่วนตัวทุกครั้งก่อนที่จะรับโทรศัพท์ รวมทั้งควรตั้งค่าเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือเป็นแบบสั่นเพื่อจะได้ไม่รบกวนเพื่อนร่วมงานคนอื่น

วอยซ์เมล
วอยซ์เมล (voice mail) คือการกล่าวคำฝากข้อความในระบบตอบรับอัตโนมัติเมื่อปลายทางไม่รับสาย ซึ่งการรับฝากข้อความควรจะบอกชื่อ ตำแหน่ง และชื่อบริษัท โดยใช้ข้อความที่เป็นปัจจุบันและมีการปรับทุกสัปดาห์หรือทุกวัน หากเดินทางไปต่างประเทศควรจะบอกว่าคุณไปที่ไหน จะกลับมาเมื่อไร จะทำการเช็กข้อความเข้าเมื่อไร จะติดต่อคุณได้อย่างไร และจะติดต่อใครแทนได้เมื่อคุณไม่อยู่ เมื่อฝากข้อความให้ผู้อื่นควรบอกชื่อคุณอย่างช้าๆ วิธีการสะกดหากจำเป็น ชื่อบริษัท และเบอร์โทร.กลับ บอกจุดประสงค์ในการโทร.อย่างสั้นๆ บอกให้รู้ว่าเวลาใดที่เหมาะที่สุดที่จะติดต่อคุณ และทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้อีกครั้งเมื่อจบข้อความ รวมถึงไม่พูดจาวกวนและไม่ควรฝากข้อความที่ยาวเกิน 30 วินาที
สปีกเกอร์โฟน
ข้อควรคำนึงในการใช้อุปกรณ์สื่อสารชิ้นนี้ในการทำงานคือ พยายามใช้สปีกเกอร์โฟนให้น้อยที่สุด และเมื่อไรก็ตามที่ต้องใช้ให้ขออนุญาตคู่สนทนาของคุณ และแนะนำบุคคลอื่นที่อยู่ในห้องกับคุณ กรณีการสนทนากันในห้องประชุม หากมีผู้ที่ต้องการจะพูดจะต้องแนะนำตัวเองก่อนพูด ให้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาพูดเมื่อต้องการสื่อถึงความสนิทสนมในขณะสนทนา
แฟกซ์

แฟกซ์หรือโทรสารเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างเป็นสาธารณะ ใครๆ ก็อาจจะไปอ่านพบได้เมื่อเดินผ่านเครื่องแฟกซ์ อย่างไรก็ตาม กลวิธีการใช้แฟกซ์นั้นไม่แตกต่างจากการใช้อีเมล คือคุณไม่ควรแฟกซ์ข้อความที่เป็นการตักเตือนหรืออ่อนไหวต่อความรู้สึก หากส่งข้อความที่เป็นความลับผ่านแฟกซ์ให้โทร.แจ้งผู้รับ และสอบถามก่อนว่าเขาสามารถคอยอยู่ที่เครื่องแฟกซ์ได้หรือไม่
นอกจากนี้ควรคำนึงด้วยว่าการส่งคำขอบคุณ คำแสดงความยินดี หรือมุกตลกที่ไม่เหมาะสม หรือรูปภาพผ่านแฟกซ์ถือเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานคอมพิวเตอร์

 

เคล็ดลับ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ในสถานที่ทำงานปัจจุบัน:

    1. ใช้โปรแกรมปรับปรุงล่าสุด ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งชนิดตั้งโต๊ะและชนิดแล็ปท็อปทุกเครื่อง
– ในการรับโปรแกรมปรับปรุงล่าสุดของระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ของ Windows โปรดไปที่ Microsoft Update ซึ่งจะสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อตรวจสอบว่าคุณต้องใช้โปรแกรมปรับปรุงตัวใด จากนั้น คุณจะสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งหรือทุกโปรแกรมได้

– เพื่อเป็นการปรับปรุงความปลอดภัยและความเสถียรของซอฟต์แวร์ Microsoft Office ของคุณ ให้ไปที่ Office Update แล้วไปที่ลิงค์ Check for Updates
หากคุณใช้ Windows XP Professional คุณจะมีวิธีการรับโปรแกรมปรับปรุงที่ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก เพียงเปิดใช้คุณสมบัติ Automatic Updates เท่านั้น คอมพิวเตอร์ของคุณจะแจ้งให้คุณทราบโดยอัตโนมัติทันทีที่มีโปรแกรมปรับปรุงที่สำคัญที่คุณสามารถใช้ได้

    2. ลดความเสี่ยงจากภัยของไวรัส มีวิธีการต่างๆ เป็นจำนวนมากที่คุณสามารถกระทำได้เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของคุณให้ปลอดภัยจากไวรัส การใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและทำให้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทันสมัยอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรก และยังมีสิ่งอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ เช่น:
– ใช้การตั้งค่าเพื่อรักษาความปลอดภัยที่ตั้งมาจากโรงงานใน Office 2003 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่วางจำหน่ายมาของ Office
– เข้าเว็บไซต์ Office Update เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ต่างๆ
– ห้ามเปิดอีเมลหรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้ใช้ประโยชน์จากตัวกรองอีเมลขยะที่ยอดเยี่ยมของ Outlook 2003 เพื่อส่งอีเมลที่น่าสงสัยตรงไปยังโฟลเดอร์อีเมลขยะของคุณ

    3. ใช้ Windows Security Centre ในการตั้งค่า ดูข้อมูลอย่างชัดเจนของการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของคุณที่รวมข้อมูลทุกอย่างไว้ในจอภาพเดียวใน Windows Security Centre โดยคุณสามารถปรับแต่งระดับการป้องกันได้ตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ การตั้งค่าที่ใช้ป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณดังกล่าวจะมีผลกับไฟล์หรือข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยป้องกันข้อมูลลับทางธุรกิจของคุณ

    4. เข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญในเครื่องแล็ปท็อปของคุณ หากคุณเดินทางเพื่อทำธุรกิจและใช้เครื่องแล็ปท็อปที่รันด้วย Windows 2000 Professional หรือ Windows XP Professional ให้ทำการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล โดยใช้ Encrypted File System (EFS) เพื่อเข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีความสำคัญ และหากว่าเครื่องแล็ปท็อปของคุณถูกขโมยไป ไฟล์และโฟลเดอร์ของคุณจะได้รับการป้องกันเนื่องจากมีเพียงผู้ที่มีคีย์ถอดรหัสพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใช้ไฟล์ที่เข้ารหัสดังกล่าวได้

    5. ดาวน์โหลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะจากแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้เท่านั้น หากคุณไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่กำลังจะดาวน์โหลดมีความปลอดภัยหรือไม่ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้นลงในดิสก์ที่แยกต่างหากจากฮาร์ดดิสก์ เช่น ซีดี หรือฟล็อปปี้ดิสก์ จากนั้น คุณก็จะสามารถสแกนไฟล์เหล่านั้นด้วยโปรแกรมสแกนไวรัสได้

    6. ใช้ระบบเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันไฟล์ในโปรแกรม Office เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ปรับปรุงใหม่ทำให้การรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในโปรแกรม Word 2003 และ Excel 2003 และขยายการเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านไปใช้กับ PowerPoint 2003 อีกด้วย คุณสามารถเปิดใช้งานการป้องกันไฟล์ด้วยรหัสผ่านได้จากเมนู เครื่องมือ ของโปรแกรมทั้งสามดังกล่าว และวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการเข้าใช้ข้อมูลลับทางธุรกิจได้

    7. ล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณก่อนกำจัดทิ้ง หากคุณได้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่มาและกำลังจะทิ้งเครื่องเก่าไป ให้ตรวจสอบว่าคุณได้ลบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทิ้งแล้ว ก่อนที่จะกำจัดเครื่องดังกล่าวทิ้ง ซึ่งมิใช่เพียงแค่การลบไฟล์ต่างๆ แล้วตามลบไฟล์เหล่านั้นออกจาก Recycle Bin เท่านั้น แต่หมายถึงการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือใช้ซอฟต์แวร์ในการล้างข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์

    8. ใช้ไฟร์วอลล์ หากบริษัทของคุณใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชนิดบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาอยู่ ให้ติดตั้งไฟร์วอลล์ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก ไฟร์วอลล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) ไฟร์วอลล์ชนิดซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Internet Connection Firewall ที่มาพร้อมกับ Windows XP Professional ซึ่งจะป้องกันเครื่องที่ซอฟต์แวร์นั้นใช้รันโปรแกรม และ 2) ไฟร์วอลล์ชนิดฮาร์ดแวร์ที่ใช้สกัดกั้นการรับส่งข้อมูลทั้งหมดระหว่างอินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายทั้งหมดของคุณยกเว้นแต่การรับส่งข้อมูลจากผู้ส่งที่คุณกำหนดไว้เท่านั้น

    9. ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ในการท่องเว็บ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์บัญชาการของเครือข่ายทั้งหมดของคุณ จึงเป็นที่เก็บข้อมูลทางธุรกิจที่มีความสำคัญ หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกบุกรุก ข้อมูลทั้งหมดตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดของคุณก็จะได้รับอันตรายด้วย

    10. ใช้รหัสผ่านอย่างชาญฉลาด ใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาเสมอ โดยมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษรและมีตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลขและสัญลักษณ์ผสมกัน อย่าใช้รหัสผ่านตัวเดียวกันซ้ำๆ กันตลอดเวลา ให้หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณเสมอ และหากคุณมีปัญหาในการจำรหัสผ่าน ให้ลองพิจารณาใช้รหัสวลี ซึ่งคุณสามารถใช้ใน Windows 2000 และ Windows XP ได้ ตัวอย่างรหัสวลี เช่น “I had pizza for lunch Tuesday”

การทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วยได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก

หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยหน่วยควบคุมและหน่วยคำนวณและตรรกะ

การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆจะผ่านระบบขนส่งข้อมูลหรือบัส

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบสำคัญที่คอมพิวเตอร์ทุกประเภทมี ได้แก่

clip_image002

1.1 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )

ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบด้วย

1.1.1 หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithematic and Logic Unit : ALU )
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ

1.1.2 หน่วยควบคุม ( Control Unit )
ทำหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานงานกับหน่วยคำนวณ และหน่วยความจำ และตรรกะซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ ไมโครชิป หรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ( Microprocessor )

1.2 หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )

ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวล ในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทข้องหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้

      1.2.1 ตามลักษณะของเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น

หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ( Volatile Memory ) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด

หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน ( Nonvolatile Memory ) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร

1.2.2 ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น

หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ( ROM ) หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามรถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( RAM ) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้

1.3 หน่วยความจำรอง ( Virtual Memory )

มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างของหน่วย ความจำรองได้แก่

clip_image004 แผ่นบันทึก หรือแผ่นดิสก์ ( Diskette )

มีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบน ถูกเคลือบไว้ด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ การอ่านข้อมูลของแผ่นดิสก์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะแตะที่พื้นผิวของแผ่น ทำให้มีการเสื่อมคุณภาพได้เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นบันทึกในปัจจุบันมีขนาด 5.25 นิ้วและ 3.5 นิ้ว

ฮาร์ดดิสก์ ( Harddisk )

clip_image006 การเก็บข้อมูลจะเก็บลงแผ่นโลหะอะลูมิเนียมที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ ฮาร์ดดิสก์สามารถบันจุข้อมูลได้มากกว่าและมีความเร็วกว่าฟลอปปี้ดิสก์ การบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะแบ่งเป็นวงรอบเรียกว่า แทร็ก ( Track ) ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นวงรอบหลาย ๆ วง การที่เราฟอร์แมต ( Format ) ฮาร์ดดิสก์เวลาที่เราซื้อมาใหม่ ๆ นั้นก็เพื่อสร้างแทร็กนั่นเอง และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า เซ็กเตอร์ ( Sector ) โดย 1 เซ็กเตอร์จะมีความจุเท่ากับ 512 ไบต์ การอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะไม่แตะที่พื้นผิวของแผ่นแต่จะลอยสูงจากผิวประมาณ 4 ไมครอน ซึ่งถือว่าใกล้มากจนเกือบสัมผัส

clip_image008

ซีดีรอม ( Compact Disk Read only Memory : CDROM )

เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง และสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมเป็นเทคโนโลยีจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลนั้นหัวอ่านไม่ต้องสัมผัสกับจานแต่จะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ ซีดีรอมนี้สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียงและภาพวีดีโอ

เวิร์ม ( Write Once Read Many : WORM )

เป็นสื่อชนิดที่มีการบันทึกแล้วไม่มีการบันทึกใหม่ แต่จะมีการเรียกใช้หรืออ่านได้หลายครั้ง การที่จะเขียนข้อมูลลงแผ่นต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ ตัวแผ่นเป็นโลหะและใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม

clip_image010

1.4 อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่

แป้นพิมพ์ ( Keyboard )  เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป

clip_image012

เมาส์ (Mouse)  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์

clip_image014

สแกนเนอร์ (Scanner)  จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้

1.5 อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)

clip_image016ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

จอภาพ (Monitor)  เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่

จอภาพแบบซีอาร์ที ( Cathode ray tube : CRT )

clip_image018จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display Adapter :MDA ) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Color Graphic Adapter : CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด ( Enhance Graphic Adapter: EGA )

         ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphic Array: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)

จอภาพแบบแอลซีดี ( Liquid Crystal Display: LCD )

เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน

โครงงานคอมพิวเตอร์

แบบเสนอโครงงานวิชา  41101   โครงงานคอมพิวเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2554

>วิชา ง 41101 โครงงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 หน่วยกิต

ชื่อโครงงาน สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมต้น Math for junior high school

รายชื่อผู้เสนอโครงงาน

1.             นาย…………………………………………….

2.             นาย…………………………………………….

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
……………………………………..
ตำแหน่ง …………………………….
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนนาบอน

                                                 (ลงชื่อ)…………………………………
                                                                         (………………………………………..)
                                                                (ลงชื่อ)…………………………………
                                                                        (………………………………………..)
วันที่ ………../………./……….
ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ……………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
                                                           (ลงชื่อ)…………………………………………..
                                                                  (……………………………………………………..)
วันที่………../…………/………..
รับเมื่อวันที่……../………/………

1.             ชื่อโครงงาน : สื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมต้น (Math for junior high school)

2.             รายชื่อผู้เสนอโครงงาน ……………………………………………………………..

3.             นาย…………………………………………………………………………………..

4.             อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : ………………………ร ตำแหน่ง ………………………….หน่วยงาน สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนนาบอน

5.             หลักการและเหตุผล :
อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีส่วนกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่มากขึ้นสถาบันการศึกษาทุกแห่งให้ความสนใจในเรื่องการประยุกต์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงเปลี่ยนสภาพไปค่อนข้างมาก ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบ การเรียนการสอนทำให้ ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เกิดขึ้นมากมาย การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องใช้เวลาน้อย เรียนรู้ได้เร็ว มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันด้วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันตอบสนองต่อการประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

ในปัจจุบันจึงได้มีการนำสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่า E-Learning ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูล และทรัพยากรที่มีการจัดเตรียมไว้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการนำเสนอที่น่าสนใจ โดย E-Learning จะช่วยอำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนมีอิสระและความคล่องตัวในการเลือกเรียนในเรื่องที่ตนสนใจได้ทุกเวลาหรือ สถานที่ในการศึกษา สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดผู้เรียน หรือกับผู้สอน รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานความรู้ เพียงแค่ผู้เรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถต่อเข้า Internet สามารถเรียนผ่านระบบ E-Learning ได้แล้ว ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้มีความคิดที่จะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป้นวิชาพื้นฐานที่สำคัญเนื่องจากยังขาดสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้เข้าใจง่าย

6.             วัตถุประสงค์ของโครงงาน :
พัฒนาโปรแกรมสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

7.             เป้าหมายและขอบเขตของโครงการ :
เป้าหมายของโครงงาน
– เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

8.             ขอบเขตของโครงงาน
ส่วนของผู้ดูแลระบบ
– จะมีการ Login เพื่อเข้ามาใช้ระบบ
-อาจารย์สามารถสร้างบทเรียนใหม่ได้
-อาจารย์สามารถแก้ไขเนื้อหา บทเรียนที่ได้สร้างไว้แล้วได้
-อาจารย์สามารถสร้างข้อสอบในแต่ละรายวิชา
ส่วนของนักศึกษา
-จะมีการ Login เพื่อเข้ามาใช้ระบบ
-นักศึกษาสามารถเข้าดูเนื้อหา บทเรียนที่อาจารย์สร้างไว้ผ่าน web ได้
-นักศึกษาสามารถทำแบบทดสอบในรายวิชาต่างๆผ่านเว็บได้
-นักศึกษาสามารถฝากคำถามและตอบคำถามผ่านทางกระดานสนทนาได้

9.             รายละเอียดในการพัฒนา :
-เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ : การพัฒนาโปรแกรมนั้นจะใช้เครื่องมือ Visual Studio .NET 2003 มาพัฒนาภาษาที่จะใช้คือ VB ในการเขียนโปรแกรมโดยใช้ร่วมกับ ADO.NET ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ติดต่อกับ Microsoft Access ซึ่งจะเป็นระบบการจัดการฐานข้อมูล
– งานวิจัย หรือ โครงงานที่เกี่ยวข้อง: ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2540) ออกแบบโครงสร้างของการเรียนการสอนผ่านเว็บควรประกอบด้วยสิ่งต่างๆ คือ

1.             ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา ภาพรวมรายวิชา แสดงวัตถุประสงค์ของรายวิชา สังเขปรายวิชาคำอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อการเรียน หรือหน่อยการเรียน

2.             การเตรียมตัวของผู้เรียนหรือการปรับพื้นฐานผู้เรียนเพื่อที่จะเตรียมตัวเรียน

3.             เนื้อหาบทเรียนพร้อมทั้งการเชื่อมโยงไปยังสื่อสนับสนุนต่างๆในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ

4.             กิจกรรมที่มอบหมายให้ทำพร้อมทั้งการประเมินผล การกำหนดเวลาเรียน

5.             แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนต้องฝึกฝนตนเอง

6.             การเชื่อมโยงไปแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า

7.             ตัวอย่างแบบทดสอบ ตัวอย่างรายงาน

8.             ข้อมูลทั่วไป แสดงข้อความที่จะติดต่อผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องการลงทะเบียน ค่าใช้จ่าย การได้รับหน่วยกิจและการเชื่อมโยงไปยังสถานศึกษาหรือหน่วยงาน

9.             ส่วนแสดงประวัติของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

10.      ห้องสนทนาที่เป็นการสนทนาในกลุ่มผู้เรียนและผู้สอน

Susan et al (1996) ได้ศึกษาการเรียนการสอนผ่านเว็บมีองค์ประกอบดังนี้

11.      ประมวลการสอนรายวิชาออนไลน์( The Online Syllabus) ประกอบด้วย หัวข้อ รายวิชาคำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ของวิชา

12.      เนื้อหา ควรประกอบด้วยข้อความเสียง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ

13.      โฮมเพจส่วนตัว ช่วยให้ผู้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

14.      การปฏิสัมพันธ์ (Interactive) มีกลุ่มสนทนา กระดานข่าว และข้อมูลต่างๆ มีการใช้ E-mail ในการติดต่อกัน

15.      งานที่ได้รับมอบหมาย มีการสั่งงาน เพื่อให้ผู้เรียนทำการบ้าน

16.      การประกาศข้อมูลข่าวสารเพื่อแจ้งข้อมูลใหม่

10.      เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนา

1.             เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU รุ่น Pentium 4 processor ความเร็วไม่ต่ำกว่า 1.7 GHz

2.             หน่วยความจำหลัก (RAM) 256 MB.

3.             หน่วยความจำสำรอง (Harddisk) 80 GB ขึ้นไป

4.             CD-ROM 52X

5.             LAN card หรือ Modem เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อ Internet ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนา

6.             ระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional

7.             Microsoft Visual Studio .NET 2003

11.      ข้อจำกัดของโปรแกรมที่จะพัฒนา

o    เนื่องจากมีเวลาในการพัฒนาจำกัด จึงทำให้ข้อมูลที่ได้นั้นมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยจะละเอียดมากเท่าที่ควร

12.      งบประมาณ :

o    กระดาษ A4 2 รีม ราคาประมาณ 200 บาท

o    หนังสือความรู้ประกอบ ราคาประมาณ 500 บาท

13.      ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

o    รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้

§  เสนอหัวข้อโครงงาน

§  ศึกษาและรวบรวมเนื้อหาที่จะต้องใช้พัฒนาโปรแกรม

o    ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับ วิชาคณิตศาสตร์ ทั้งจากทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต

o    จัดแยกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อใช้ในการสร้างเนื้อหาในส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

o    ออกแบบระบบงานและจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสม

o    ออกแบบรูปแบบของหน้าจอของโปรแกรมที่จะนำมาใช้งาน

o    ออกแบบรูปแบบหน้าจอที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้ง่าย

o    ออกแบบรูปแบบหน้าจอให้มีความสวยงาม น่าสนใจ

14.      ออกแบบฐานข้อมูล

o    ออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Access ในการจัดการและเผยแพร่ข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

o    เขียนโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูล โดยในส่วนของการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะใช้โปรแกรม Access และเขียนภาษา ASP ในการดึงฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงบน web

o    สร้าง Web Application

o    ทำการออกแบบและสร้าง Application บนเว็บไซต์

o    นำ Web Application มาทำการติดต่อกับฐานข้อมูล

o    ทดสอบและปรับปรุงโปรแกรม

o    ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ และตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมว่าตรงตามความต้องการหรือไม่

o    สรุปผลและทำรายงานการสรุปผล

o    ทำเอกสารประกอบโปรแกรม

o    ทำเอกสารโปรแกรมและคู่มือการใช้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.             เสนอหัวข้อโครงงาน

2.             ศึกษาการคงสภาพอ็อบเจ็ก

3.             ออกแบบคลาสและกลไกลการทำงานของตัว Adapter

4.             เขียนโปรแกรมตัวอย่างด้วยวิธีการคงสภาพวัตถุกับตัวอย่างของตารางเชิงความสัมพันธ์

5.             จัดทำโปรแกรมและส่วนต่างของโปรแกรม

6.             ทดสอบโปรแกรม

7.             แก้ไขและเพิ่มเติมโปรแกรมให้สมบูรณ์

8.             จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม

9.             รายงานผลการดำเนินงาน

10.      จัดทำเอกสาร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1.             เป็นแหล่งให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่สนใจ

2.             ส่งเสริมการเรียนการสอนอีกแนวทางหนึ่ง

3.             เป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

4.             เป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่สนใจในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำไปพัฒนาต่อ

แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน……………………………………………………………
สาขาของงานวิจัย……………………………………………………….
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
2…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
3…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….

โรงเรียนนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา…………………………………………………………
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)…………………………………………………
ระยะเวลาดำเนินงาน…………………………………………………วัน.

รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
……………………………………………………………………………………………………………
2. วัตถุประสงค์
……………………………………………………………………………………………………………
3. หลักการและทฤษฎี
……………………………………………………………………………………………………………
4. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………………………………………
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
……………………………………………………………………………………………………………
6. แผนปฏิบัติงาน
……………………………………………………………………………………………………………
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
……………………………………………………………………………………………………………
8. เอกสรอ้างอิง
……………………………………………………………………………………………………………

ตัวอย่าง กรณีทำเว็บไซต์

งานของนักเรียนชั้น ม.4

.ให้ทำโครงงานคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ กลุ่มละ 1 เรื่อง

ขั้นตอนและวิธีการจัดทำ

          1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงร่างของโครงงานการพัฒนาเว็บไซต์ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
          2. เสนอโครงร่างให้ครูผู้สอนอนุมัติ
          3. เมื่อครูผู้สอนอนุมัติโครงร่างโครงงานแล้ว ให้นักเรียนเริ่มดำเนินการจัดทำ โดยทำการศึกษา รวบรวมข้อมูล และออกแบบแบนเนอร์ และสร้าง site ในการจัดทำเว็บไซต์ โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่ม มีหน้าเว็บเพ็จไม่ต่ำกว่า 13 หน้า แยกเป็น หน้า HomePage 1 หน้า หน้าเว็บเพ็จเนื้อเรื่อง 10 หน้า หน้าเว็บคณะผู้จัดทำ 1 หน้า (ให้ใส่รูปภาพนักเรียนสมาชิกของกลุ่มแต่ละคน .ใช้รูปนักเรียนเท่านั้น พร้อมประวัติรายละเอียดย่อของแต่ละคนด้วย) หน้าเว็บอาจารย์ที่ปรึกษา 1 หน้า หน้าเว็บ (ให้ใส่รูปภาพอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคน พร้อมประวัติรายละเอียดย่อของแต่ละคนด้วย)

          4. แต่ละกลุ่มส่ง ซีดี Website เพื่อส่งข้อมูลเก็บไว้ในเครื่อง Server ส่งภายในวันที่ 26  สิงหาคม 2551
          5. การเขียนรายงาน และส่งภายในวันที่ 26  สิงหาคม 2551
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน วันที่ 1 กันยายน 2551

ใบความรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดใช้ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแกปัญหาต่างๆ ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานควรมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้
          – เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
          – ผู้เรียนเป็นริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา
          – เก็บรวบรวมหรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
          – ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา สรุป และเสนอผลการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีผู้สนอเป็นที่ปรึกษา
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท

          1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา เช่น โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์
          2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ เป็นโครงงานที่สร้างเครื่องมือ ใช้สร้างงาน ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป
          3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ
          4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน
          5. โครงงานพัฒนาเกม เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมารุก

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โดยปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องใช้หลักการทางวิชาการแล้ว ยังจำเป็นต้องมีข้อตกลงและเงือนไขต่างๆ ด้วย เช่น การขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การจัดหาลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เครื่องมือและตัวแปลภาษาโปรแกรม เป็นต้น เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น
         4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

เค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้

          1. ชื่อโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง …………
          2. สาขาของงานวิจัย เป็นการระบุลักษณะของโครงงานที่พัฒนาว่าเป็นโครงงานชนิดใดใน 5 ประเภทที่ได้กล่าวข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม
          3. ชื่อ สกุล ผู้ทำโครงงาน
          4. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
          5. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
          6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
          7. วัตถุประสงค์ หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และล้อมาจากชื่อเรื่องของโครงงาน
          8. หลักการและทฤษฏี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อผิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น
          9. วิธีดำเนินงาน
              – อูปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ
             – กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
             – แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน
             – งบประมาณที่ใช้
          10. แผนปฏิบัติงาน ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น
          11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          12. เอกสารอ้างอิง

แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน……………………………………………………………
สาขาของงานวิจัย……………………………………………………….
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
2…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
3…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….

โรงเรียนนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา…………………………………………………………
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)…………………………………………………
ระยะเวลาดำเนินงาน…………………………………………………วัน.

รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
……………………………………………………………………………………………………………
2. วัตถุประสงค์
……………………………………………………………………………………………………………
3. หลักการและทฤษฎี
……………………………………………………………………………………………………………
4. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………………………………………
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
……………………………………………………………………………………………………………
6. แผนปฏิบัติงาน
……………………………………………………………………………………………………………
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
……………………………………………………………………………………………………………

8. เอกสรอ้างอิง
………………………………………………………………………………………………………

โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย

ความหมายโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ ทางคอมพิวเตอร์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน โครงงานบางเรื่องอาจต้องการวัสดุอุปกรณ์นอกเหนือจากที่มีอยู่ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดออกแบบสร้างขึ้น หรือดัดแปลงเพื่อใช้งานได้ตรงกับความต้องการ โดยในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์หรือต่างสาขาวิชารวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ด้วย

โครงงานคอมพิวเตอร์ ที่จะทำในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นประเด็นหรือปัญหาที่นักเรียนสนใจใคร่รู้ และสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในระดับของนักเรียน เพื่อคิดแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณค่ายิ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดที่จะทำโครงงานอาจมีผู้สนใจทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนามาแล้ว แต่นักเรียนก็ยังสามารถทำโครงงานดังกล่าวได้ เพียงแต่คิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้

คุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้นฐานเป็นสำคัญ

การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
– สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
– การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
– คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
– คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
– คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน

นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้าใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และมีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์

จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกความสามารถในการนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำโครงงานคอมพิวเตอร์

การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้

1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน

5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์

7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรมและลักษณะของประโยชน์หรือผลงาที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ 1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) 2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) 3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี (Theory Experiment) 4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application) 5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

เป็นโครงงานทีใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)

เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเรื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D

3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี (Theory Experiment)

เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)

เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อ ให้ป็นเกมส์ที่แปลกใหม่และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

วิธีดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้

1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
– จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
– สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
– มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
– มีเวลาเพียงพอ
– มีงบประมาณเพียงพอ
– มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม
3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต
5. การเขียนรายงาน เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

ที่มาของตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

http://www.nbs.ac.th/

ที่มาของโครงงานคอมพิวเตอร์

มานพ ทะชัยวงค์. สนุกกับโครงงานคอมพิวเตอร์ กรุงเทพฯ :ไอดีซี,2547

ยุทธศักดิ์ สินธุพงศ์.คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ (โครงงานคอมพิวเตอร์) [ออนไลน์].เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2554.เข้าถึงได้จาก http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/02139/02139.html

http://kruoong.blogspot.com/2011/05/blog-post.html

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.nbs.ac.th/

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานคอมพิวเตอร์

เคล็ดลับ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ในสถานที่ทำงานปัจจุบัน

    1. ใช้โปรแกรมปรับปรุงล่าสุด ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งชนิดตั้งโต๊ะและชนิดแล็ปท็อปทุกเครื่อง
– ในการรับโปรแกรมปรับปรุงล่าสุดของระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ของ Windows โปรดไปที่
Microsoft Update ซึ่งจะสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อตรวจสอบว่าคุณต้องใช้โปรแกรมปรับปรุงตัวใด จากนั้น คุณจะสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งหรือทุกโปรแกรมได้

– เพื่อเป็นการปรับปรุงความปลอดภัยและความเสถียรของซอฟต์แวร์ Microsoft Office ของคุณ ให้ไปที่ Office Update แล้วไปที่ลิงค์ Check for Updates
หากคุณใช้ Windows XP Professional คุณจะมีวิธีการรับโปรแกรมปรับปรุงที่ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก เพียงเปิดใช้คุณสมบัติ Automatic Updates เท่านั้น คอมพิวเตอร์ของคุณจะแจ้งให้คุณทราบโดยอัตโนมัติทันทีที่มีโปรแกรมปรับปรุงที่สำคัญที่คุณสามารถใช้ได้

    2. ลดความเสี่ยงจากภัยของไวรัส มีวิธีการต่างๆ เป็นจำนวนมากที่คุณสามารถกระทำได้เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของคุณให้ปลอดภัยจากไวรัส การใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและทำให้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทันสมัยอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรก และยังมีสิ่งอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ เช่น:
– ใช้การตั้งค่าเพื่อรักษาความปลอดภัยที่ตั้งมาจากโรงงานใน Office 2003 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่วางจำหน่ายมาของ Office
– เข้าเว็บไซต์
Office Update เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ต่างๆ
– ห้ามเปิดอีเมลหรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้ใช้ประโยชน์จากตัวกรองอีเมลขยะที่ยอดเยี่ยมของ Outlook 2003 เพื่อส่งอีเมลที่น่าสงสัยตรงไปยังโฟลเดอร์อีเมลขยะของคุณ

    3. ใช้ Windows Security Centre ในการตั้งค่า ดูข้อมูลอย่างชัดเจนของการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของคุณที่รวมข้อมูลทุกอย่างไว้ในจอภาพเดียวใน Windows Security Centre โดยคุณสามารถปรับแต่งระดับการป้องกันได้ตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ การตั้งค่าที่ใช้ป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณดังกล่าวจะมีผลกับไฟล์หรือข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยป้องกันข้อมูลลับทางธุรกิจของคุณ

    4. เข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญในเครื่องแล็ปท็อปของคุณ หากคุณเดินทางเพื่อทำธุรกิจและใช้เครื่องแล็ปท็อปที่รันด้วย Windows 2000 Professional หรือ Windows XP Professional ให้ทำการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล โดยใช้ Encrypted File System (EFS) เพื่อเข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีความสำคัญ และหากว่าเครื่องแล็ปท็อปของคุณถูกขโมยไป ไฟล์และโฟลเดอร์ของคุณจะได้รับการป้องกันเนื่องจากมีเพียงผู้ที่มีคีย์ถอดรหัสพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใช้ไฟล์ที่เข้ารหัสดังกล่าวได้

    5. ดาวน์โหลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะจากแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้เท่านั้น หากคุณไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่กำลังจะดาวน์โหลดมีความปลอดภัยหรือไม่ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้นลงในดิสก์ที่แยกต่างหากจากฮาร์ดดิสก์ เช่น ซีดี หรือฟล็อปปี้ดิสก์ จากนั้น คุณก็จะสามารถสแกนไฟล์เหล่านั้นด้วยโปรแกรมสแกนไวรัสได้

    6. ใช้ระบบเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันไฟล์ในโปรแกรม Office เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ปรับปรุงใหม่ทำให้การรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในโปรแกรม Word 2003 และ Excel 2003 และขยายการเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านไปใช้กับ PowerPoint 2003 อีกด้วย คุณสามารถเปิดใช้งานการป้องกันไฟล์ด้วยรหัสผ่านได้จากเมนู เครื่องมือ ของโปรแกรมทั้งสามดังกล่าว และวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการเข้าใช้ข้อมูลลับทางธุรกิจได้

    7. ล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณก่อนกำจัดทิ้ง หากคุณได้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่มาและกำลังจะทิ้งเครื่องเก่าไป ให้ตรวจสอบว่าคุณได้ลบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทิ้งแล้ว ก่อนที่จะกำจัดเครื่องดังกล่าวทิ้ง ซึ่งมิใช่เพียงแค่การลบไฟล์ต่างๆ แล้วตามลบไฟล์เหล่านั้นออกจาก Recycle Bin เท่านั้น แต่หมายถึงการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือใช้ซอฟต์แวร์ในการล้างข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์

    8. ใช้ไฟร์วอลล์ หากบริษัทของคุณใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชนิดบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาอยู่ ให้ติดตั้งไฟร์วอลล์ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก ไฟร์วอลล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) ไฟร์วอลล์ชนิดซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Internet Connection Firewall ที่มาพร้อมกับ Windows XP Professional ซึ่งจะป้องกันเครื่องที่ซอฟต์แวร์นั้นใช้รันโปรแกรม และ 2) ไฟร์วอลล์ชนิดฮาร์ดแวร์ที่ใช้สกัดกั้นการรับส่งข้อมูลทั้งหมดระหว่างอินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายทั้งหมดของคุณยกเว้นแต่การรับส่งข้อมูลจากผู้ส่งที่คุณกำหนดไว้เท่านั้น

    9. ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ในการท่องเว็บ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์บัญชาการของเครือข่ายทั้งหมดของคุณ จึงเป็นที่เก็บข้อมูลทางธุรกิจที่มีความสำคัญ หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกบุกรุก ข้อมูลทั้งหมดตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดของคุณก็จะได้รับอันตรายด้วย

    10. ใช้รหัสผ่านอย่างชาญฉลาด ใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาเสมอ โดยมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษรและมีตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลขและสัญลักษณ์ผสมกัน อย่าใช้รหัสผ่านตัวเดียวกันซ้ำๆ กันตลอดเวลา ให้หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณเสมอ และหากคุณมีปัญหาในการจำรหัสผ่าน ให้ลองพิจารณาใช้รหัสวลี ซึ่งคุณสามารถใช้ใน Windows 2000 และ Windows XP ได้ ตัวอย่างรหัสวลี เช่น “I had pizza for lunch Tuesday”

ที่มา http://www.microsoft.com/thailand/smallbusiness/themes/practical/article7.mspx1

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

 

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุดมีขนาดใหญ่และราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอี่นออกแบบมาเพื่อใช้แก่ปํญหาทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายวัน

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะหลักการทำงานสูงมีความเร็วสูง เฟนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้ได้หลายร้อยคน คอมพิวเตอร์ชนิดนี้มักใช้ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร

3. มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับองค์กรขนาดกลางที่ใช้บริการแก่เครื่องลูกข่าย เช่น โรงแรม

4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)มีประสิทธิภาพสูงราคาไม่แพงมีความนิยมสูงเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัวที่บ้าน

5.คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (handheld   computer)สามารถจัดการกับข้อมูลประจำวันได้ สร้างปฏิทิน บันทึกเตือนความจำ เล่นเกม ชมภาพยนตร์ ฟังเพลง และรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ เป็นคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีอีเอ

อุปกรณ์ต่อพ่วง

หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้

1.แผงพิมพ์อักขระ เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี 50 แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ

2.เมาส์ เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. เมาส์ทางกล

2. เมาส์แบบใช้แสง

3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา ซึ่งมี 3ประเภท

1. ลูกกลมควบคุม

2.แท่งชี้ควบคุม

3.แผ่นรองสัมผัส

4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง

5.จอสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์

6.อุปกรณ์รับเข้าแบบตราดตรวจ ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท

1. เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการสะท้อนแสง เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

2. เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ

3.กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็ทแฟลช

7.เว็บแคม เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้

8.จอภาพ มี2 ชนิด

1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น

2.จอภาพแบบแอลซีดี ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของพาราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ

9. ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโฟง

10.หูฟัง เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอม ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง มีทั้งชนิดไร้สายและมีสายบางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต

11. เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์

1.เครื่องพิมพ์แบบจุด

2.เครื่องพิมพ์เลเซอร์

3.เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

4.พล็อตเคอร์

12. โมเด็ม เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายโทรศัพท์ แล้วโมเด็มจะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก

อุปกรณ์ต่อพ่วง

1. เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ

clip_image001clip_image002

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)

เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า “พอร์ทเทรต” (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า “แลนด์สเคป” (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ

clip_image003clip_image004 หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่  300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง

4. พล็อตเตอร์ (plotter)

พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก

พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ

2. เครื่องสแกนภาพ (Scanner)

สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ ได้ดังนี้

    • ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
    • บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์  
    • แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์  
    • เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์

ชนิดของสแกนเนอร์ และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

                1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III

                 2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น ScanMaker 35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm และ ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8″x10″การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอลหลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพ  มีดังนี้

    • SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์  
    • ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่กำหนด
    • สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCR
    • จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
    • เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

                 –  ภาพ Single Bit   เป็นภาพที่มีความพยาบมากที่สุดใช้พื้นทีในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากร จองเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกน ภาพน้อยที่สุด Single Bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ – Line Art ได้แก่ภาพที่มีประกอบเป็นภาพขาวดำตัวอย่างของภาพ พวกนี้ได้แก่ ภาพจากการสเก็ต  Halfone ภาพพวกนี้จะให้เป็นสีโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single Bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบ ๆ

– ภาพ Gray Scale ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉด สีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึก มากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบ ด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น

                –   ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วย จำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากความ สามารถ ในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาด ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์มีขนาดความละเอียด เท่าไร

clip_image005clip_image006

3. โมเด็ม (Modem)

เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน  หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น

ความสามารถของโมเด็ม เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น

    • ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต  
    • ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต  
    • เข้าถึงบริการออนไลน์ได้  
    • ดาวน์โหลดข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้  
    • ส่ง – รับโทรสาร  
    • ตอบรับโทรศัพท์

ความแตกต่างของโมเด็ม

                 1. ความเร็วในการรับ – ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)    ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ
                 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ
                 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax  capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
                4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
                5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)
                6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ระบบการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือสิ่งรบกวน(Noise)จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร(source)

อาจจะเป็นสัญญาณต่างๆเช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่างๆก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink)

ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้นๆถ้าผู้รับสาร หรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

clip_image001

3. ช่องสัญญาณ(channel)

หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่านอาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่างๆหรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น ปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส(encoding)

เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมายจึงมีความจำเป็นต้องแปลง ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส(decoding)

หมายถึง การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน(noise)

เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมุติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาดตำแหน่ง ที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติ มักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่นการเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูล หรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยระบบการส่งข้อมูลทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน
           1. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
           2. หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
           3. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
           1. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
           2. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
           3. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
           4. เพื่อลดเวลาการทำงาน
           5. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
           6. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่าย และสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่ง สามารถ บันทึกข้อมูล ได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้วจะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3. ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้นเช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4.  ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

ชนิดของการสื่อสารข้อมูล
วิธีการสื่อสารข้อมูล (DATA TRANSMISSION)
ลักษณะของการสื่อสารข้อมูล มี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบอนุกรม (serial data transmission) และการสื่อสารแบบขนาน
(parallel data transmission) การสื่อสารแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้
1. การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (serail data transmission)
เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต ไปบนสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ สามารถนำไปใช้กับสื่อนำข้อมูลที่มีเพียง1ช่องสัญญาณได้ สื่อนำข้อมูลที่มี 1 ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ และเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรมมีการส่งข้อมูล
ได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น การส่งข้อมูลประเภทนี้จึงช้ากว่าการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิต

clip_image002

2. การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน (parallel data transmission)
เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิตขนานกันไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ วิธีนี้จะเป็นวิธีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าการส่งข้อมูลแบบอนุกรมจากรูป เป็นการแสดงการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัว ที่มีการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิตพร้อมกัน

clip_image004

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

clip_image005

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่อง

คอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น

clip_image006

รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

ช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น

clip_image007

รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม

สถานีงาน

สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host

อุปกรณ์ในเครือข่าย

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

clip_image008

รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสาระสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสาระสนเทศ

เป็นระบบสนับสนุนการบริหารงานการจัดการ และการปฏิบัติการของบุคคลไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลระดับกลุ่มหรือระดับองค์การไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวม 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ คือ

1. ฮาร์ดแวร์ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ( Hardware )

2. ซอฟต์แวร์ ( Software )

3. ข้อมูล ( Data )

4. บุคลากร ( Staff )

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

clip_image002

รายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

clip_image004

1. ฮาร์ดแวร์ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ( Hardware )

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้ง
อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ(Scanner)

clip_image006

2. ซอฟต์แวร์ ( Software )

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สองซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อ ประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งานลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย

clip_image008

3. ข้อมูล ( Data )

ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ การเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องมีการตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

clip_image010

4. บุคลากร ( Staff )

บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญ ใน ความสำเร็จของระบบสารสนเทศบุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามต้องการ

clip_image012

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้ว ขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น การบันทึกข้อมูล การประมวลผล การปฏิบัติงานเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และ การทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

ที่มา : eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1087450326-mayreport.doc

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.